คณะอนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตรศึกษา

1. รายชื่ออนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตรศึกษา(วาระวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 - วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555)

1. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ที่ปรึกษา
2. คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานอนุกรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.สมพร สวัสดิสรรพ์ อนุกรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ บัณฑิต จิรจริยาเวช อนุกรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ชมพูนุท คุณเลิศกิจ อนุกรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงจินดา เลิศศิริวรกุล อนุกรรมการ
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สุวิทย์ วิมลจิตต์ อนุกรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริเพ็ญ เปสี อนุกรรมการ
9. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริลาวัณย์ โต๊ะนาค อนุกรรมการ
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ นายแพทย์ เศรษฐกร พงศ์พานิช อนุกรรมการและเลขานุการ
11. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ฉวีวรรณ ชื่นชูผล อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 1
12. นางสาวพนิดา รัตนพงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 2
13. นางลัดดาวัลย์ วงศ์ไชย ผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 3

 

สรุปผลการดำเนินงาน

          คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานคณะกรรมการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาทันตแพทยศาสตตร์ ได้ลงนามสัญญาจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการโครงการวิจัย เรื่อง การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี วิชาสาขาทันตแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

          การจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาทันตแพทยศาสตร์ (มคอ.1) ซึ่งได้ผ่านการประชาพิจารณ์ของคณาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ทุกสถาบัน และผ่านการประชาพิจารณ์จากการประชุมสัมมนาทันตแพทยศาสตรศึกษา ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 – 30 มีนาคม 2554 และผ่านการรับรองร่าง มคอ.1 จากที่ประชุมองค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย และที่ประชุมทันตแพทยสภา

 

2. รายชื่ออนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตร์ศึกษา (วาระวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 - วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557)

1. ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ที่ปรึกษา
2. คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานอนุกรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.สมพร สวัสดิสรรพ์ อนุกรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงจุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ อนุกรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงจินดา เลิศศิริวรกุล อนุกรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์สุวิทย์ วิมลจิตต์ อนุกรรมการ
7. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริลาวัณย์ โต๊ะนาค อนุกรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์พิริยะ เชิดสถิรกุล อนุกรรมการ
9. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิงฉวีวรรณ ชื่นชูผล อนุกรรมการและเลขานุการ
10. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.กนกวรรณ ปัญญายงค์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 1
11. นางสาวสุจินต์ พงศ์ธีรโรจน์ ผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 2

 

แผนการดำเนินงาน
วิสัยทัศน์
          นำหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ศึกษาไทยสู่สากล

พันธกิจ
          องค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย  มุ่งที่จะพัฒนาหลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ในทุกระดับให้ได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ สนับสนุนงานทันตแพทยศาสตรศึกษาให้ก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงการศึกษาทันตแพทย์ไทย

เป้าหมาย

ระยะที่  1 ปี 2556 กำหนดแผนกลยุทธ์ และกิจกรรมหลักและย่อย  มอบให้แต่ละมหาวิทยาลัยดำเนินการ
  ปี 2557-2558 ทุกมหาวิทยาลัยดำเนินการ และกำหนดประเด็นวิจัยเพื่อใช้กำหนดทิศทางด้านการศึกษา
  ปี 2559 ประเมินความสำเร็จภายหลังระยะที่ 1  และประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนต้นแบบ
ระยะที่ 2 ปี 2560-2566 หลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนต้นแบบใช้ในคณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทยให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 50
  ปี 2567 ประเมินความสำเร็จภายหลังระยะที่ 2  และประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการศึกษาต้นแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนต้นแบบ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1  สร้างความเป็นเลิศด้านหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
1.    เป็นหลักสูตรที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาทันตสุขภาพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และประชาคมอาเซียนรวมถึงประชาคมโลก
แนวทางการดำเนินงาน

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปัญหาทันตสุขภาพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ศึกษาความต้องการของประชาชน ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก
วิเคราะห์หลักสูตรและปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับผลการศึกษาข้างต้น

2.    เป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์ การเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบต่อสังคม และการดูแลผุ้ป่วยในฐานะเพื่อนมนุษย์ (Humanized care)

แนวทางการดำเนินงาน

มีการจัดกิจกรรมหรือรายวิชาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงวิเคราะห์ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีการจัดกิจกรรมหรือรายวิชาเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
มีการจัดกิจกรรมหรือรายวิชาเพื่ออบรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
มีการจัดกิจกรรมหรือรายวิชาการดูแลผุ้ป่วยในฐานะเพื่อนมนุษย์ (Humanized care)

3.    เป็นหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับของสากล
แนวทางการดำเนินงาน

มีการรับรองหลักสูตรต้นแบบของไทยโดยสถาบันการศึกษาทางทันตแพทย์ในระดับสากล

4.     มีการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร
แนวทางการดำเนินงาน

สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร

5.    มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงาน

ประเมินหลักสูตรทุก 5 ปี
นำผลการประเมินมาพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเป็นเลิศด้านทันตแพทยศาสตร์ศึกษา
1.    พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการดำเนินงาน

วิเคราะห์ศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
ส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อด้านการศึกษา
อบรมอาจารย์ใหม่ในบทบาทความเป็นครู และ กระบวนการเกี่ยวกับการสอน
อบรมอาจารย์เก่าให้ได้ทบทวน และปรับการสอนให้ทันสมัย
พัฒนากลุ่มนำร่องเพื่อสร้างการสอนแบบใหม่
สร้างศูนย์สื่อการสอนเพื่อสนับสนุนอาจารย์

2.    พัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน

แนวทางการดำเนินงาน

วิเคราะห์ศักยภาพด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน
เตรียมนักศึกษาในบทบาทผู้เรียน และกระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนานักศึกษาเข้าเรียนในกลุ่มนำร่องเพื่อการสอนแบบใหม่

3.    มีการประเมินและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการดำเนินงาน

ประเมินการเรียนการสอนทุกปี

นำผลการประเมินมาพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

4.    มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
แนวทางการดำเนินงาน

สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

5.    สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกัน
แนวทางการดำเนินงาน

จัดเวทีแสดงผลงานพัฒนางานด้านทันตแพทยศาสตร์ศึกษาของทุกคณะฯ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานระหว่างมหาวิทยาลัย
สัมมนาร่วมกันเพื่อหาข้อตกลงในการพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเป็นสากล
1.    สร้างเครือข่ายนานาชาติ เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
แนวทางการดำเนินงาน

กำหนดตัวแทนจากองค์กรการศึกษาด้านทันตแพทยศาสตร์ที่เป็นภาคีร่วม
สัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานด้านหลักสูตรและการจัดการเรียน  การสอนในระดับนานาชาติ

2.    ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาทางทันตแพทย์ในระดับอาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน

สร้างหลักสูตรต้นแบบของอาเซียน

3.    วิจัยร่วมกันในเครือข่ายนานาชาติ เพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนสู่สากล
แนวทางการดำเนินงาน

กำหนดตัวแทนจากองค์กรการศึกษาด้านทันตแพทยศาสตร์ที่เป็นภาคีร่วม เพื่อการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
กำหนดหัวข้อวิจัย และมอบหมายให้เครือข่ายย่อยนำไปวิจัย
การนำเสนอผลงานวิจัยในเครือข่ายนานาชาติ

4.    แลกเปลี่ยนอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาในระดับนานาชาติ
แนวทางการดำเนินงาน

ให้แต่ละมหาวิทยาลัยแสดง Best Practice ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน ของตน
แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรแต่ละ Best Practice
แลกเปลี่ยนนักศึกษาระยะสั้น และระยะยาว

 

3. รายชื่ออนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตรศึกษา(วาระวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 - วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559)

1. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ที่ปรึกษา
2. คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประธานอนุกรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ พรชัย จันศิษย์ยานนท์ อนุกรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง จุฬาลักษณ์ เกษตรสุวรรณ อนุกรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ พิริยะ เชิดสถิรกุล อนุกรรมการ
6. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ฉวีวรรณ ชื่นชูผล อนุกรรมการ
7. รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.นิรดา ธเนศวร อนุกรรมการ
8. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ศิริลาวัณย์ โต๊ะนาค อนุกรรมการ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ทิพวัลย์ เตชะนิธิสวัสดิ์ อนุกรรมการ
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง มัลลิกา ศุขเกษม อนุกรรมการ
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.ดุษฎี หอมดี อนุกรรมการและเลขานุการ
12. อาจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.สุพรรณิการ์ เรืองศรี อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 1
13. นายวิชาญ ธรรมวิรัตน์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ 2

 

คณะอนุกรรมการหลักสูตรและทันตแพทยศาสตรศึกษา มีหน้าที่ดังนี้
1.    ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนระดับทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
2.    ดำเนินการและประสานงานด้านการประกันคุณภาพทางวิชาการในระดับปริญญาตรี
3.    หน้าที่อื่น ๆ ซึ่งที่ประชุมคณบดีหรือคณะกรรมการ มอบหมาย